TENDA ROUTER WIRELESS SERIES
W309R+/ FH303+/FH303 / F3 / FH305 / N301 / N150
1. การเซตตั้งค่าฝั่ง Ubiquity
1.1. เข้าหน้า ตั้ง ค่าอุปกรณ์ Ubiquity แล้ว กรอก Username กับ Password สำ หรับ Login ให้เรียบร้อย
1.2. ไปที่เมนู Wireless แล้ว ตั้ง ค่าในส่วนของ “ Basic Wireless Setings “ ให้เรียบร้อย โดยให้เลือกโหมดเป็น “ Access Point WDS “ แล้ว ถ้า จะให้ง่ายสาํ หรับการทาํ WDS ก็เลือก “ Auto “ ด้วย เพื่อให้ Ubiquity รับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ Bridge ตัวอื่นแบบอัตโนมัติ จากนั้นก็ตั้งค่า SSID และ Fix Channel และตั้ง Security Mode ให้เป็น None ครับ แล้วกดปุ่ม “ Change “ จากนั้น ก็ “ Apply “ อีกรอบครับ
2. การเซตตั้งค่าฝั่ง Tenda Router Wireless
2.1. เข้าหน้าตั้งค่า Tenda Router ผ่าน Browser ด้วย IP = 192.168.0.1 แล้วกรอก Password = admin ให้ถูกต้อง กดปุ่ม OK ครับ
Note : กรณีที่เข้าไม่ได้ เคยตั้งค่ามาก่อนแล้ว ก็ให้กดปุ่ม WPS/Reset ด้านหลังอุปกรณ์ค้างไว้ 15 วินาที แล้วปล่อย เพื่อ Reset อุปกรณ์ให้กลับเป็นค่าจากโรงงาน
2.2. ในครั้งแรก จะเข้ามาติดหน้า Home หรือ Quick Setup ตามรูปครับ ก็ยังไม่ต้องปรับค่าใด ๆ ครับ ให้กดปุ่ม “ Advanced “ เพื่อเข้าสู่หน้าตั้งค่าขั้นสูงต่อไป
2.3. เข้ามาหน้าตั้งค่า Advanced ของ Tenda Router ก็ให้ไปที่เมนู “ DHCP Server “ แล้วเอาเครื่องหมายถูกตรงช่อง “ Enable “ ออก เพื่อปิดการ แจก IP Address ของตัว Tenda Router ครับ จากนั้น กดปุ่ม OK เพื่อบันทึก
2.4. หลังจากปิด DHCP แล้ว ให้คลิกที่ เมนูด้านซ้าย “ LAN Settings “ เพื่อเปลี่ยน LAN IP ของ Tenda Router จากเดิม “ 192.168.0.1 “ ให้อยู่ในวง LAN เดียวกับ Ubiquty ครับ ซึ่งตรงนี้แล้วแต่ว่า ผู้ใช้ตั้งค่า IP Address ของฝั่ง Ubiquty เป็นวง LAN อะไรไว้ครับ ซึ่งการเปลี่ยน LAN IP ให้อยู่ในวงเดียวกัน จะช่วยให้ผู้ใช้ สามารถเข้ามาตั้งค่า Tenda ได้ง่ายขึ้นในอนาคตครับ หลังจากเปลี่ยนเสร็จแล้วกดปุ่ม OK
2.5. จากนั้น ให้ไป Fix IP Address ของ LAN เครื่อง Computer PC เพื่อจะได้สามารถกลับเข้าไปหน้าตั้งค่าตัว Tenda ได้อีกครั้ง โดย Fix IP Address ให้เป็น IP ที่อยู่ในวง LAN ใหม่ของ Tenda Router ครับ
Note : ในตัวอย่าง ได้เปลี่ยน IP LAN ของ Tenda Router เป็น 192.168.1.19 ก็ต้อง Fix IP ของ LAN ให้เป็น 192.168.1.3 เป็นต้น
2.6. จากนั้น ก็กลับเข้าหน้าตั้งค่า Tenda Router ด้วย IP Address ใหม่ผ่าน Browser อีกครั้ง ( ในตัวอย่างคือ 192.168.1.19 ) แล้วพิมพ์ Login = admin ให้ถูกต้อง จากนั้น ถ้าติดหน้า Home หรือ Quick Setup ก็ให้กดปุ่ม “ Advanced “ เหมือนเดิมครับ
2.7. ไปที่ เมนู Wireless > Wireless Basic Setings แล้ว ตั้งชื่อ Primary SSID ให้ตรงกับ ชื่อ Wireless SSID ที่ตั้งใน Ubiquity และตั้ง Channel ให้ตรงกับที่ตั้งใน Ubiqity ด้วยเช่นกันครับ ส่วนตรง Tx Power แล้วแต่ลูกค้าจะปรับครับว่าจะเป็น Low หรือ High ตามความแรงของสัญญาณที่ต้องการจากนั้น กดปุ่ม OK เพื่อบันทึกค่า (ในตัวอย่างจะตั้งเป็นชื่อฝั่ง Ubiqutiy เป็น “ UBNT “ และ Channel เป็น 1 ครับ )
2.8. ต่อไปก็คลิกที่เมนูย่อย ด้านซ้าย “ Wireless Extender “ แล้วเลือกโหมดเป็น “ WDS Bridge“ เสร็จแล้ว ก็กดปุ่ม “Open Scan” ครับ
2.9. รอจนรายชื่อ SSID ของ Wireless รอบข้างแสดงขึ้นมา จากนั้น ก็ให้เลือก ชื่อ SSID ของ Ubiqutiy ตัวที่ต้องการทำ WDS Bridge ครับ แล้วก็เช็คความถูกต้องจากค่าด้านบน ตรง SSID, Channel, AP MAC Address และ Security Mode ให้เรียบร้อย แล้วกดปุ่ม OK ครับ
2.10. ถ้ามีข้อความขึ้นมาแจ้งเตือน ก็ให้ กดปุ่ม OK จากนั้น ก็รออุปกรณ์ Reboot ครับ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ ต่อไปก็เป็นการตรวจสอบการเชื่อมต่อว่า อุปกรณ์ทั้ง 2 ตัว สามารถเชื่อมต่อ Connected กันได้หรือยังครับ
2.6. จากนั้น ก็กลับเข้าหน้าตั้งค่า Tenda Router ด้วย IP Address ใหม่ผ่าน Browser อีกครั้ง ( ในตัวอย่างคือ 192.168.1.19 ) แล้วพิมพ์ Login = admin ให้ถูกต้อง จากนั้น ถ้าติดหน้า Home หรือ Quick Setup ก็ให้กดปุ่ม “ Advanced “ เหมือนเดิมครับ
2.7. ไปที่ เมนู Wireless > Wireless Basic Setings แล้ว ตั้งชื่อ Primary SSID ให้ตรงกับ ชื่อ Wireless SSID ที่ตั้งใน Ubiquity และตั้ง Channel ให้ตรงกับที่ตั้งใน Ubiqity ด้วยเช่นกันครับ ส่วนตรง Tx Power แล้วแต่ลูกค้าจะปรับครับว่าจะเป็น Low หรือ High ตามความแรงของสัญญาณที่ต้องการจากนั้น กดปุ่ม OK เพื่อบันทึกค่า (ในตัวอย่างจะตั้งเป็นชื่อฝั่ง Ubiqutiy เป็น “ UBNT “ และ Channel เป็น 1 ครับ )
2.8. ต่อไปก็คลิกที่เมนูย่อย ด้านซ้าย “ Wireless Extender “ แล้วเลือกโหมดเป็น “ WDS Bridge“ เสร็จแล้ว ก็กดปุ่ม “Open Scan” ครับ
2.9. รอจนรายชื่อ SSID ของ Wireless รอบข้างแสดงขึ้นมา จากนั้น ก็ให้เลือก ชื่อ SSID ของ Ubiqutiy ตัวที่ต้องการทำ WDS Bridge ครับ แล้วก็เช็คความถูกต้องจากค่าด้านบน ตรง SSID, Channel, AP MAC Address และ Security Mode ให้เรียบร้อย แล้วกดปุ่ม OK ครับ
2.10. ถ้ามีข้อความขึ้นมาแจ้งเตือน ก็ให้ กดปุ่ม OK จากนั้น ก็รออุปกรณ์ Reboot ครับ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ ต่อไปก็เป็นการตรวจสอบการเชื่อมต่อว่า อุปกรณ์ทั้ง 2 ตัว สามารถเชื่อมต่อ Connected กันได้หรือยังครับ
3. ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์
3.1. ใช้คำสั่ง Ping ครับ โดยใช้เครื่อง Computer PC เป็นตัวทดสอบการ Ping ผ่าน “cmd“ ของ Windows ก็ได้ครับ แนะนำให้ Ping ไปที่ IP Address ของอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัว ถ้ามี Reply กลับมา ก็แปลว่า การเชื่อมต่อเสร็จสมบูรณ์ครับ
Note : ตัวอย่างเป็นการทดสอบ Ping ไปที่ IP Address = 192.168.1.19 ของ Tenda Router และ 192.168.1.20 ของ Ubiqutiy ครับ
3.2. การตรวจสอบการเชื่อมต่อ แบบที่สอง ก็คือการเช็คอุปกรณ์ฝั่ง Station ผ่าน Ubiquty ครับ โดยเริ่ม เข้าหน้าตั้งค่า Ubiquity อีกครั้ง แล้วไปที่เมนู MAIN > Extra Info เลือก “ Show Station … “
กรณีที่มีการเชื่อมต่อเข้ามาสำเร็จผ่านโหมด WDS Bridge ก็จะมีค่า MAC Address ของ Tenda Router แสดงขึ้นมาครับ กรณีที่ไม่มีการเชื่อมต่อจากฝั่ง Tenda Router เข้ามาครับ ก็จะเป็นหน้าว่าง ๆ ตรงนี้ ก็ต้องกลับไปเช็คค่าที่เซตอีกครั้งว่า มีผิดหรือไม่ครับ
3.3. การเช็คการเชื่อมต่อ แบบที่สาม โดยใช้ Ping Tools จาก Ubiquty ครับ ดังรูป
โดยใส่ IP Address ของ Tenda Router ในช่อง Specify Manually แล้วกดปุ่ม Start ครับ ถ้ามี Time แสดง ก็แปลว่า เชื่อมต่อสมบูรณ์ครับ
3.4. หลังจากเซตทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และแน่ใจว่า WDS Bridge ระหว่างอุปกรณ์เชื่อมต่อสมบูรณ์แล้ว ก็ให้กลับมาเซต LAN IP ของเครื่อง Computer PC ที่เคย Fix IP ไว้ ก็กลับมาตั้งเป็น Auto หรือ Obtained an IP address automatically ให้เหมือนเดิมครับ
*** สอบถามวิธีการแก้ปัญหา, ข้อมูลสินค้า และการติดตั้ง กับแผนก Support เพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-3123641-6 หรือ 086-3697855 ***